ในช่วงเวลาที่นอนหลับฝันและตื่นนั้น จิตใจของมนุษย์ทำงานอย่างหนักในการจัดการกับ ปัญหาหนัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความจำ การรับรู้ข้อเท็จจริง อารมณ์ ซึ่งมีความซับซ้อน และประติด ประต่อเข้าด้วยกันเหมือนกับชิ้น puzzle หรืออาจเป็นไปได้ว่า สมอง ทำให้คนฝันในเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นการปรับอารมณ์
ปัจจุบัน มีงานวิจัยหลากหลายมุมมอง เกี่ยวกับว่า มีอะไรเกิดขึ้นในระหว่างที่เราหลับ และประเด็นดังกล่าวนี้ เป็นประเด็นหลัก ๆ ที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า พยายามจะทำ ความเข้าใจ "ทำไมเราต้องหลับและฝัน" ผู้เชี่ยวชาญมีข้อสรุปในงานวิจัยของพวกเขาแตกต่างกันไป โดย Science Magazine ฉบับ เดือนพฤศจิกายน มีการเผยแพร่ความรู้เล็กน้อยว่า เกิดอะไรขึ้น เมื่อเรานอนหลับพักผ่อนในตอน กลางคืน Robert Stickgold ผู้เชี่ยวชาญจาก Department of Psychiatry แห่ง Harvard Medical School เชื่อว่า จิตใจของเรา ทำงานอย่างหนักในขณะนอนหลับ โดยสมองนั้นจะนำข้อมูลและช่วยนำมันไป สู่รูปแบบที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจได้ การทำความเข้าใจในความซับซ้อนของโลก เป็นหนึ่งในภาระ ที่ยากที่สุดของสมอง และมันต้องการเวลามากกว่า 1 ชั่วโมงของการตื่นนอน เพื่อให้งานลุล่วง
ทางด้าน Jerome Siegal นักวิจัยจาก Center for Sleep Research of the Department of Veteran Affairs ผู้ซึ่งได้ศึกษางานวิจัยจำนวนนับโหล เกี่ยวกับความฝัน และการเรียนรู้ บอกว่า เขาไม่พบว่า ในช่วงเวลาหลับนอนนั้น จิตใจของเราได้ทำอะไรที่มีความสำคัญ พร้อมกล่าวอีกว่า นับตั้งแต่ที่ได้มีการ ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับว่า เกิดอะไรขึ้นในระหว่างที่เราหลับนอน และฝันนั้น เขาพบข้อมูลว่า เป็นเวลานับร้อยปีแล้ว ที่มนุษย์บอกว่า การฝันนั้นเป็นการที่เราติดต่อกับบรรพบุรุษ ในขณะที่ ทฤษฎีล่าสุดได้รับการยอมรับว่า สมองของเราดำเนินการแก้ไขปัญหาและช่วยเราในการเรียนรู้ แต่กลับไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่จะมายืนยันทฤษฎีดังกล่าว
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ได้ออกมายืนยันในข้อสรุปของตนเองอย่างหนักแน่น โดย Robert Stickglod อธิบายว่า ในการทดลองของเขา เขาจะให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง ได้รับรู้ถึงปัญหาที่มีความ ซับซ้อน เพื่อให้นำไปแก้และเข้ารับการทดสอบในอีกหลาย ๆ วันถัดไป และในกลุ่มผู้ได้รับการมอบ หมายให้แก้ปัญหานั้น จะมีส่วนหนึ่งได้รับอนุญาติให้นอนหลับ และอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ให้หลับ ผลปรากฏว่า กลุ่มที่ได้มีโอการนอนหลับอย่างเต็มที่ในช่วงเวลากลางคืนนั้น มีประสิทธิภาพในการ แก้ไขปัญหาได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับอนุญาติให้หลับนอน เขาจึงเชื่อว่า ในขณะที่เราหลับนอนนั้น สมองส่วนหนึ่ง จะถูกใช้ไปในเรื่องเกี่ยวกับความจำและทำให้เกิดความฝันขึ้นมา ในขณะที่สมอง อีกส่วนหนึ่งถูกใช้ไปในการจัดการกับข้อมูลใหม่ ๆ ทำให้เกิดความเข้าใจ และเขายังบอกอีกด้วยว่า คนโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะเข้านอนพร้อมกับปัญหาบางอย่างในใจ และจะตื่นขึ้นมา พร้อมกับวิธีการใน การแก้ไขปัญหาบางอย่าง
ในส่วนของ Jaromy Siegel นั้น มองไปอีกทางหนึ่ง ซึ่งเขาอธิบายทฤษฎีของ Robert Stickgold ที่ว่า ทำไมคนที่ได้รับอนุญาติให้นอนหลับ จึงแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า โดยเขาบอกว่า มันเป็นเรื่องของ ความเครียด ซึ่งความเครียดนั้น ทำให้คนเราทำในสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ พร้อมทั้งยังกล่าวอีกว่า เมื่อสัตว์ ถูกนำมาทำสอบในลักษณะเดียวกับมนุษย ผลที่ออกมาก็ไม่ต่างจากผลที่ Stickgold ทดสอบไว้
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ ที่พยายามจะสังเกตุการณ์ในทั้งสองกรณี ข้างต้น คือ Russ Carter ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจาก Leonard Institute ในเมือง Austin มลรัฐ Texas ที่ระบุว่า ค่อนข้างจะเป็น การชัดเจนที่ว่า สมองได้รับการช่วยเหลือในการเรียนรู้และกระบวนการรับข้อมูล ในขณะที่หลับ เพราะนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยทุก ๆ ราย ทราบดีว่า เขาจะสามารถทำแบบทดสอบได้ดี และรับข้อมูลในการเรียนรู้ได้ดีกว่า ถ้าหากนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในช่วงกลางคืน
ส่วนงานวิจัยของ Linda Sveena นักวิจัยด้านการนอนจาก University of Ohio บอกว่า พวกเรา ทราบกันดีว่า มนุษย์จะสามารถทำงานต่าง ๆ ได้ดี ถ้าได้นอนหลับช่วงกลางคืน แต่เราไม่ทราบว่า สมองทำงานในการจัดการกระบวนการต่าง ๆ ของข้อมูลจริงหรือไม่ในขณะที่เรานอนหลับ เพราะหลักฐานในกรณีหลังนี้ มีน้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีทั้งนักวิจัยที่ให้การสนับสนุนและไม่สนับสนุน เรื่องการทำงาน จัดการข้อมูลของสมองในช่วงเวลาหลับก็ตาม แต่นักวิจัยทุกคนต่างเห็นด้วยที่ว่า เราจะต้องไม่อด หลับอดนอนในระยะยาว เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ