วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

Grapefruit




A relative newcomer to the citrus clan, the grapefruit was originally believed to be a spontaneous sport of the pummelo (q.v.). James MacFayden, in his Flora of Jamaica, in 1837, separated the grapefruit from the pummelo, giving it the botanical name, Citrus paradisi Macf. About 1948, citrus specialists began to suggest that the grapefruit was not a sport of the pummelo but an accidental hybrid between the pummelo and the orange. The botanical name has been altered to reflect this view, and it is now generally accepted as Citrus X paradisi.


When this new fruit was adopted into cultivation and the name grapefruit came into general circulation, American horticulturists viewed that title as so inappropriate that they endeavored to have it dropped in favor of "pomelo". However, it was difficult to avoid confusion with the pummelo, and the name grapefruit prevailed, and is in international use except in Spanish-speaking areas where the fruit is called toronja. In 1962, Florida Citrus Mutual proposed changing the name to something more appealing to consumers in order to stimulate greater sales. There were so many protests from the public against a name change that the idea was abandoned.

วันเด็กแห่งชาติ




ประวัติความเป็นมา



วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ


ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ


สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


อย่างไรก็ตาม งานวันเด็กแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 จากนั้นเป็นต้นมา ราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยจัดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่ ด้วยเหตุผลว่า เดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทย เป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาร่วมงาน นอกจากนี้วันจันทร์เป็นวันปฏิบัติงานของผู้ปกครอง จึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้


ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 ว่า ควรจะเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ที่มีความเหมาะสมและสะดวกมากกว่า ตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ส่งผลให้ในปี 2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติจึงเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2508 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

เทคนิคอ่านหนังสือยังไง...ไม่ให้ง่วง




เทคนิคอ่านหนังสือยังไง...ไม่ให้ง่วง


1. บรรยากาศรอบตัว ใครว่าบรรยากาศรอบๆตัวไม่มีผล(ขอเถี่ยง) จริงๆจากการศึกษาเขาว่ากันว่าบรรยากาศมีส่วนมากๆที่จะทำให้เราง่วง เช่น บางคนชอบอ่านหนังสือในที่มีแสงสว่างน้อย หรือแสงไฟสลัวๆ ซึ่งจริงๆแล้ว การอ่านหนังสือในที่มีแสงไม่เพียงพอจะทำให้สายตาเราทำงานหนักขึ้นและเมื่อยล้าได้ง่าย ทำให้เมื่ออ่านไปได้สักระยะเราก็จะง่วง ดังนั้นน้องๆควรหาที่อ่านหนังสือที่มีแสงสว่างเพียงพอ


2. สถานที่ในการอ่านหนังสือ ใครว่าสถานที่ไม่สำคัญ น้องๆสังเกตบ้างหรือเปล่า ทำไมเราอ่านหนังสือในสวนหรือนอกบ้านเราจะไม่ค่อยรู้สึกง่วงสักเท่าไหร่ แต่เมื่อไหร่ที่อ่านหนังสือบนเตียงเป็นอันต้องหลับทุกที ก็บรรยากาศเป็นใจอ่ะเนอะ อิอิ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการอ่านบนเตียงนอนโดยเด็ดขาด ถ้าไม่อยากสอบตก


3. การพักผ่อน น้องๆหลายคนติดนิสัยนอนดึกนอนดื่นซะจนชิน (เนื่องจากติดละครหรืออะไรก็แล้วแต่) รู้ไหมการนอนดึกมีส่วนมากๆที่จะทำให้เราง่วง เพราะถ้าตอนกลางคืนเรานอนไม่เพียงพอในช่วงกลางวันร่างกายต้องการการผักผ่อนจึงส่งผลให้น้องๆหลายคนเกิดอาการง่วง รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมนอนหลับผักผ่อนแต่หัวค่ำนะ


4. เบื่อ ความเบื่อนำมาซึ่งความง่วง ถ้าไม่อยากเบื่อ อยากง่วงลองแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือดู วันละกี่นาที กี่ชั่วโมงก็ว่ากันไป อย่าอ่านวิชาใดวิชาหนึ่งนานๆ เพราะอาจนำมาซึ่งความเซ็ง -*- ถ้าเรารู้จักแบ่งเวลาคิดว่าน่าจะตัดความเบื่อลงไปได้บ้าง


ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก




ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก


น้ำมันมะกอกนอกจากจะเป็นน้ำมันพืชชั้นดี ที่นำมาปรุงอาหารฝรั่งได้อร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมายทีเดียวน้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันจากพืชที่แม้จะมีแคลอรี่สูง แต่มีข้อดีคือ มีกรดไขมันชนิดที่เป็นประโยชน์กับร่างกายสูง และเป็นไขมันชั้นดี ซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้ในน้ำมันมะกอกยังประกอบด้วยวิตามินวิตามินเอ และอี ที่เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ทำให้น้ำมันมะกอกไม่เหม็นหืน โดยไม่ต้องเติมสารกันหืนเหมือนน้ำมันพืชบางชนิด นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษายืนยันว่า น้ำมันมะกอกช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงอีกด้วยค่ะ และล่าสุด ดร.ไมเคิล สโตนแฮมและคณะ จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้ทำการประเมินผลของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และหาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและน้ำมันมะกอกต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆมากถึง 28 ประเทศใน 4 ทวีป พบว่าผู้ที่รับประทานผักรวมทั้งน้ำมันมะกอกเป็นประจำ มีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ต่ำอย่างชัดเจนค่ะ จึงเป็นข่าวดีของผู้ที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันมะกอกอีกชิ้นหนึ่งค่ะ นั่นคือน้ำมันมะกอกช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วยค่ะ


มีข้อดีอย่างนี้ ลองนำน้ำมันมะกอกมาปรุงอาหารกันบ้าง ก็น่าจะดีเหมือนกันนะคะ แต่การเลือกซื้อน้ำมันมะกอกสักขวด ควรจะไปทำความรู้จักชนิดของน้ำมันมะกอกกันก่อนจะดีกว่าค่ะ


Extra Virgin Oil เป็นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ จากการบีบจากลูกมะกอก น้ำมันมะกอกชนิดนี้ จะมีสีเขียวเข้มใส นิยมนำมาใช้ในการทำ สลัด น้ำจิ้ม หรือเครื่องปรุงรสอื่น ๆ


Refined Olive เป็นน้ำมันมะกอกที่ผ่านการกลั่น ราคาจะถูกกว่าชนิดแรก และมีสีเขียวใสกว่า.


Olive Oil เป็นน้ำมันมะกอกที่ให้สีอ่อนกว่าสองชนิดแรก เป็นการ


ผสมระหว่างน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์กับน้ำมันมะกอกที่ผ่านการกลั่น เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการปรุงอาหารที่ไม่ต้องการกลิ่นที่รุนแรงหรือสำหรับคนที่เพิ่งลองใช้น้ำมันมะกอกในการปรุงอาหารค่ะและที่สำคัญราคาก็ถูกกว่าด้วย



จะใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารได้อย่างไร



1. นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำสลัด หรือน้ำจิ้ม



2. นำมาใช้ในการผัด ชนิดที่ใช้น้ำมันน้อย เช่นผัดผักเร็ว ๆ ผัดกระเพรา มักกะโรนี สปาเก็ตตี หรือ พาสต้า



3. นำมาใช้ในการหมักเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปอบจะทำให้เนื้อนุ่มขึ้น



4. ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด จะช่วยให้อาหารไม่อมน้ำมันเนื่องจากน้ำมันมะกอกจะให้ความร้อนสูง ทำให้อาหารสุกทั่วถึงอย่างรวดเร็ว ไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วยค่ะ