วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลสำรวจเผย ชาวอินเดียมีมือถือใช้มากกว่ามีส้วมใช้

สำนักข่าวต่างประเทศเผยผลสำรวจสำมะโนประชากรสุดอึ้ง เมื่อประชากรในอินเดียที่มีกว่า 1,200 คน มีมือถือใช้มากกว่า มีส้วมเป็นสัดส่วนภายในบ้าน

โดย ผลสำรวจระบุว่า คนอินเดียมีส้วมที่บ้านเพียง 46.9% ขณะที่อีก 49.8% ใช้บริการส้วมลมโชยในที่สาธารณะ และอีก 3.2% ใช้ส้วมสาธารณะในการถ่ายทุกข์

ขณะที่ คนอินเดียกว่า 63.2% มีโทรศัพท์ใช้ที่บ้าน และ 53.2% มีโทรศัพท์มือถือใช้ ผลการสำรวจพบด้วยว่า คนอินเดียมีทีวีดู 47.2% แต่มีวิทยุฟังเพียง 19.9% และเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพียแค่ 3.1%

ทั้งนี้นักวิเคราะห์ระบุว่า ผลสำรวจดังกล่าวเกิดจากความแตกต่างของระบบสังคมในอินเดีย ขณะที่คนนับล้านสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างง่ายดาย แต่คนจนอีกจำนวนมหาศาล กลับเข้าไม่ถึงแม้แต่บริการสาธารณสุขพื้นฐาน

อันตรายจากหมากฝรั่ง

หมากฝรั่ง คือ ก้อนสารปรุงแต่งอาหารอย่างหนึ่ง มีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น กัมเบส ( เป็นส่วนผสมหลักในหมากฝรั่ง คล้ายกาว ทำจากยางชิคเคิลเล็กน้อย และพลาสติกที่มาจากน้ำมันปิโตเลียม ) ทาร์ สารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ สารอิมัลติไฟเออร์ ( เป็นสารที่ทำให้ส่วนประกอบต่างๆในหมากฝรั่งเข้ากันได้ดี ) ปกติส่วนประกอบหลักในหมากฝรั่ง ต้องเป็นยางชิคเคิล ที่ทำจากยางของต้นละมุด แต่ในปัจจุบันจะใช้ กัมเบสแทน เพราะ พื้นที่ป่าเขตร้อนน้อยลง ทำให้ยางชิคเคิลมีราคาเเพง
หมากฝรั่งมี 2 ชนิด คือ ชิววิ่งกัม ( หมากฝรั่งที่มีกลิ่น ) และ บับเบิ้ลกัม ( หมากฝรั่งที่เป่าลูกโป่งได้ )

อันตรายจากการใช้ยา

อันตรายจากการใช้ยา

1. การดื้อยาและการต้านยา (Drug Resistance and Drug Tolerance)
การดื้อยา เป็นภาวะที่เชื้อโรคต่างๆที่เคยถูกทำลายด้วยยาชนิดหนึ่งๆ สามารถปรับตัวจนกระทั่งยานั้นไม่สามารถทำลาย ได้อีกต่อไป เชื้อโรคที่ดื้อยาแล้วจะสามารถถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ไปยังเชื้อโรครุ่นต่อไป ทำให้การใช้ยาชนิดเดิมไม่สามารถ ใช้ทำลายหรือรักษาโรคได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยาให้ครบตามขนาดของยาที่แพทย์กำหนดและไม่ควรซื้อยามาใช้เอง ตัวอย่าง
ยาที่มักเกิดการดื้อยาได้แก่ ยาต่อต้านเชื้อ (Antibacterals) เช่น ยาซัลฟา เพนนิซิลิน เตตราไซคลิน สเตร็บโตไมซิน เป็นต้น
การต้านยา มีความหมายคล้ายการดื้อยา แต่การต้านยามีผลมาจากร่างกายของผู้ใช้ยา ไม่ใช่เป็นการปรับตัวของเชื้อโรค
ร่างกายจะสร้างเอ็นไซม์หรือใช้ระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายยา ทำให้การรักษาไม่ได้ผล ต้องใช้ยาในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง
ก่อให้เกิดอาการติดยา เช่น บาร์บิทูเรท มอร์ฟีน เป็นต้น

2. การใช้ยาในทางที่ผิดและการติดยา (Drug Abuse and Drug Dependence)
การใช้ยาในทางที่ผิด หมายถึง การนำยามาใช้ด้วยตนเอง และนำยามาใช้โดยมิใช่เป็นการรักษาโรค เป็นการใช้ยาไม่
ถูกต้อง และไม่ยอมรับในทางยา
การติดยา มักเป็นผลจากการนำยามาใช้ในทางที่ผิด เช่น แอมเฟตามีน เพื่อกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกแจ่มใส ไม่ง่วง
หรือเพื่อลดความอ้วน เมื่อใช้ติดต่อกันนานๆจะมีผลต่อร่างกายและจิตใจ ให้มีความต้องการยาอยู่เสมอ และปริมาณ
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าขาดยาอาจทำให้ถึงตายได้ เช่นเมื่อติดยาแอเฟตามีน จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน และเสียชีวิต
เพราะอาการผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด

3. การแพ้ยา (Drug Allergy or Hypersensitivity) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับยาชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ร่างกาย
จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านยาชนิดนั้น เมื่อร่างกายได้รับยาชนิดเดิมอีก ตัวยาจะไปทำปฏิกิริยากับภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิด
การแพ้ยา โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้ มีไข้ ช็อก หอบ หืด คัดจมูก ไอจาม ลมพิษ โลหิตจาง หรืออาจเสียชีวิตได้
จึงไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์

4. ผลค้างเคียง (Side Effect) เป็นอาการปกติทางเภสัชวิทยาที่เกิดควบคู่กับผลทางรักษาทางยา ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคน และ
มีความรุนแรงต่างกัน เช่น การใช้แอนทีฮีสตามีน มีผลในการลดน้ำมูก ลดอาการแพ้ แต่อาจมีผลค้างเคียงคือ ทำให้
ง่วงนอน ซึมเซา ควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักร และการขับรถ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุ ได้ง่าย

5. พิษของยา (Toxic Effect) เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในระดับที่รุนแรงจนถึงขั้นเป็นพิษเป็นผลของยาที่ใช้ ถ้ายังเพิ่ม
ขนาดใช้ยา อาการพิษก็ยิ่งเพิ่มขึ้นจนอวัยวะนั้น ๆ พิการหรือเสื่อมสภาพไป หรือการใช้ยาในระยะเวลานานติดต่อกัน แม้
จะใช้ในขนาดปกติ ก็เกิดเป็นพิษได้ เนื่องจากพิษของยาเอง เช่น คลอแรมเฟนิคอล สเตียรอยด์ แอสไพริน ถ้าใช้นาน ๆ
หรือขนาดสูง ๆ โรคโลหิตจางและโรคติดเชื้อได้ง่าย ๆ พิษของยาอื่น ๆ อาจมีผลต่อระบบประสาท ระบบหัวใจ ระบบไหล
เวียนของโลหิต นอกจากนี้ยาบางชนิดซึ่งมารดาใช้ขณะตั้งครรภ์ จะมีผลต่อเด็กในครรภ์ขั้นรุนแรงได้

สิงคโปร์ ครองแชมป์ ทำโลกร้อนที่สุดในเอเชีย

รายงาน ของกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ระบุว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีอัตราต่อหัวของประชาชากรในปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ ชั้นบรรยากาศของโลก มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ในรอบปี 2554 ที่ผ่านมา

โดยปัจจัยหลักอยู่ที่ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง สอดคล้องกับตัวเลขข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการ ระบุว่า ในปี 2554 สิงคโปร์ซึ่งตัวเลขจีดีพีต่อหัวประชากร มากกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ ปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล 43,454 กิโลตัน

ทั้งนี้ นางโยลันดา กากาบัดเซ ประธานWWF กล่าวว่า ชาวสิงคโปร์บริโภคอาหารและพลังงานเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบอัตราส่วนระหว่างประชากรกับขนาดของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ชาวโลกไม่ควรทำตาม

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีพลังงานทางเลือก จึงต้องใช้พลังงานจำนวนมากดังกล่าว